วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมภาษา

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล
          โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล
โปรแกรมในภาษาปาสคาล แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

1. ส่วนหัว (Heading) เป็นการประกาศชื่อของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วยคำว่า PROGRAM ตามด้วยชื่อของโปรแกรม และจบบรรทัดด้วย ;
2. ส่วนข้อกำหนด (Declaration part) คือส่วนตั้งแต่ส่วนหัวไปจนถึงคำว่า BEGIN ของโปรแกรมหลัก และเป็นส่วนที่เรากำหนดค่าต่าง ๆ

3. ส่วนคำสั่งต่าง ๆ (Statement Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้ายด้วย “END.”
โครงสร้างของภาษา C
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซีแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. ส่วนหัวของโปรแกรม
ส่วนหัวของโปรแกรมนี้เรียกว่า Preprocessing Directive ใช้ระบุเพื่อบอกให้คอมไพเลอร์กระทำการ ใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรม ในที่นี่คำสั่ง #include <stdio.h> ใช้บอกกับคอมไพเลอร์ให้นำเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ คือ stdio.h เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย โดยการกำหนด preprocessing directives นี้จะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ
คำสั่งที่ใช้ระบุให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์เข้าร่วมในการแปลโปรแกรม สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
- #include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจากไดเรกทอรีที่ใช้สำหรับเก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ (ปกติคือไดเรกทอรีชื่อ include)
- #include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟที่ระบุ จากไดเร็คทอรีเดียวกันกับไฟล์ source code นั้น แต้ถ้าไม่พบก็จะไปค้นหาไดเร็คทอรีที่ใช้เก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ
2. ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก
ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชั่น main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชั่นนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ จะเห็นได้จากชื่อฟังก์ชั่นคือ main แปลว่า หลักดังนั้น การเขียนโปรแกรมภาษซีจึงขาดฟังก์ชั่นนี้ไปไม่ได้ โดยขอบเขตของฟังก์ชั่นจะถูกกำหนดด้วยเครื่องหมาย { และ } กล่าวคือ การทำงานของฟังก์ชั่นจะเริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } ฟังก์ชั่น main() สามารถเขียนในรูปแบบของ void main(void) ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน คือ หมายความว่า ฟังก์ชั่น main() จะไม่มีอาร์กิวเมนต์ (argument) คือไม่มีการรับค่าใด ๆ เข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชั่น และจะไม่มีการคืนค่าใด ๆ กลับออกไปจากฟังก์ชั่นด้วย
3. ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม


                      โดรงสร้างโปรแกรม Basic
ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักคือ
1.       ลาเบล (Label) ใช้ในการอ้างถึงบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งของโปรแกรมที่ทำการเขียนขึ้น2.       รหัสนีโมนิก (Mnemonic) เป็นส่วนแสดงคำสั่งของไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ต้องการให้กระทำ
3.       โอเปอร์แรนด์ (Operand) เป็นส่วนที่แสดงถึงตัวกระทำหรือถูกกระทำและข้อมูลที่ใช้ในการกระทำตามคำสั่งที่กำหนดโดยรหัสนีโมนิกก่อนหน้านี้
4.       คอมเมนต์ (Comment) เป็นส่วนที่ผู้เขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเพื่อใช้ในการอธิบายคำสั่งที่กระทำ หรือผลของการกระทำคำสั่งในบรรทัดหรือโปรแกรมย่อยนั้นๆ 

โครงสร้าง ภาษา Java (Java Structure)
1. เครื่องหมาย ในการควบคุม Structure
1.1 Comment คือข้อความที่แทรกเข้าไปในโปรแกรม แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม เช่นในกรณีที่เราต้องการอธิบาย Source code ไว้ใน โปรแกรม วิธีการคือ
- comment ทีละ บรรทัด ใช้เครื่องหมาย // ตามด้วยข้อความที่ต้องการ comment เช่น
//comment comment
- comment แบบครอบทั้งข้อความ ใช้เครื่องหมาย /* ข้อความที่ต้องการ comment */ เช่น
/*
Comment
Comment
*/
1.2 Keyword คือคำที่ถูกกำหนดไว้ใช้เองแล้วในภาษา Java ไม่สามารถนำมาใช้ในการตั้งชื่อภายใน โปรแกรมได้ ตัวอย่างเช่น class,boolean,char เป็นต้น

1.3 Identifiers คือชื่อที่ผู้เขียนตั้งขึ้นมา เพื่อใช้แทนอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็น method ,ตัวแปร หรือ class ชื่อที่ถูกต้องควรประกอบด้วย ตัวอักษร ,ตัวเลข ,_,$ และจะต้องขึ้นต้นด้วย ตัวอักษรเท่านั้น

1.4 Separators คือ อักษร หรือ เครื่องหมายที่ใช้แบ่งแยกคำในภาษา มีดังต่อไปนี้
- เครื่องหมาย () ใช้สำหรับ
1. ต่อท้ายชื่อ method ไว้ให้ใส่ parameter
เช่น private void hello( );
2. ระบุเงื่อนไขของ if ,while,for ,do
เช่น if ( i=0 )
3. ระบุชื่อชนิดข้อมูลในการ ทำ casting
เช่น String a=( String )x;
- เครื่องหมาย{ }ใช้สำหรับ

กำหนดขอบเขตของ method แล class
เช่น class A{
}
Private void hello(){
} 
2. กำหนดค่าเริ่มต้นให้ กับตัวแปร Array
เช่น String a[]={"A","B","C"};

- เครื่องหมาย [ ] ใช้สำหรับ
1. กำหนดตัวแปรแบบ Array
เช่น String a[ ];
2. กำหนดค่า index ของตัวแปร array
เช่น a[ 0 ]=10;
- เครื่องหมาย ; ใช้เพื่อปิดประโยค
เช่น String a ;
- เครื่องหมาย , ใช้สำหรับ
1. แยกชื่อตัวแปรในประโยค
เช่น String a , b , c;
- เครื่อง หมาย . ใช้สำหรับ
1. แยกชื่อ package,subpackage และชื่อ class
เช่น package com.test.Test1;
2. ใช้เพื่อเรียกใช้ ตัวแปร หรือ method ของ Object
เช่น object.hello();

ภาษา COBOL คืออะไร
ภาษาโคบอล (COBOL : Common Business Oriented Language) คือภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในงานธุรกิจภาษาแรกของโลก พัฒนาในปีค.ศ. 1962 โดยคณะกรรมการโคดาซิล (The Conference on Data Systems Languages - CODASYL) มีจุดเด่นคือ สามารถใช้งานแฟ้มข้อมูลได้หลายแบบ กำหนดโครงสร้างข้อมูลได้สะดวก มีลักษณะการเขียนโปรแกรม แบบเอกสารอธิบายโปรแกรม ช่วยให้นักพัฒนารุ่นถัดไปเข้าใจได้ง่าย
การเขียนโปรแกรมภาษา COBOL เป็นภาษาที่ง่ายมากภาษาหนึ่ง เพราะไม่มีลูกเล่นให้ใช้มาก ๆ เหมือนพวก VB, C, Pascal หรือ dBase หน้าที่หลักของ COBOL คืออ่านข้อมูลจากแฟ้มมาประมวลผลทางธุรกิจเป็นหลัก สำหรับ ผู้เรียนมือใหม่ อาจบอกว่าภาษานี้ยาก เพราะพวกเขาอาจไปยึดติดกับการจดจำ division ต่าง ๆ ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงหน้ากาก มิใช่ concept ของภาษา ถ้ามีคู่มือสักเล่ม ก็จะเข้าใจ และแกะหน้ากากเหล่านั้นออกได้ แล้วก้าวให้ลึกเข้าไปสู่ตัวภาษาได้โดยง่าย





วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระบบเลขฐาน


1.ตารางเลขฐานสอง



2. แปลงเลขฐานอื่นๆให้เป็นฐานสิบ
          2.1 111100102 =969
          2.2 2FBC16 =12206
2.32868=198


3.แปลงฐานสิบรหัสนักศึกษาสองตัวหลัง
3.1 26 =110102
3.2 26 =328
3.3 26=Q16


วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ใบงาน9


ใบงานที่ 9
โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ

1.การขัดจังหวะ หรือการอินเตอร์รัปต์ หมายถึงอะไร จงอธิบาย

2.จงเปรียบเทียบการอินเตอร์รัปต์ กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไป ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
     =การติดต่อเพื่อรับส่งข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกันกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวัน มนุษย์จะติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ติดต่อกันเพื่อทำการค้าขาย พูดคุยกัน อย่างนี้เป็นต้น

3.สาเหตุที่การป้องกันฮาร์ดแวร์ มีบทบาทสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่รองรับหลายๆ งาน อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร จงอธิบาย
=เพื่อป้องกันการเรียกใช้อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลแบบผิด ๆ หรืออ้างอิงตำแหน่งในหน่วยความจำที่อยู่ในส่วนของระบบปฏิบัติการ หรือไม่คืน การควบคุมซีพียูให้ระบบซึ่งมีการกำหนดว่าคำสั่งเรียกใช้อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลเป็นคำสั่งสงวน (Privileged Instruction) ผู้ใช้ไม่สามารถเรียกใช้อุปกรณ์เองได้ ต้องให้ระบบปฏิบัติการเป็นผู้จัดการให้

4.จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโหมดการทำงานของผู้ใช้ กับโหมดการทำงานของระบบมาให้พอเข้าใจ
=ผู้ใช้ก็จะทำงานเหมือนกับคอมพิวเตอร์ เราจะรับข้อมูลจาก ตา หู จมูก ปาก แล้วก็สมองจะทำการประมวลผลสิ่งที่เราดู ได้ยิน ได้กลิ่น หรือรับรส แล้วก็จะแสดงจากทางอาการหรือคำพูด ก็เหมือนคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลจากเมาส์ คีย์บอร์ด แล้ว CPU ก็ทำการประมวลผล จากนั้นก็แสดงผลในรูปของเสียงหรือภาพ

5.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันอินพุต และเอาท์พุตอย่างไร จงอธิบาย
     =กลไกในการอ้างอิงหน่วยความจำหลัก ป้องกันกระบวนการให้ใช้หน่วยความจำหลักได้แต่ในส่วนของกระบวนการนั้นเท่านั้น เช่น การไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ระบบทำการรับส่งข้อมูลเองโดยตรง เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการใช้งานของอุปกรณ์รับส่งข้อมูล

6.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันหน่วยความจำอย่างไร จงอธิบาย
     =กลไกในการอ้างอิงหน่วยความจำหลัก ป้องกันกระบวนการให้ใช้หน่วยความจำหลักได้แต่ในส่วนของกระบวนการนั้นเท่านั้น

7.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันซีพียูอย่างไร จงอธิบาย
=ระบบต้องมีการป้องกัน ความผิดพลาดที่เกิดจากกระบวนการหนึ่งไปกระทบอีกกระบวนการหนึ่ง โดยสร้างกลไกบางอย่างเพื่อป้องกันแฟ้มข้อมูล, หน่วยความจำส่วนหนึ่งหรือหน่วยประมวลผลกลาง




8.โครงสร้างของระบบปฏิบัติการประกอบด้วยกี่ส่วน อะไรบ้าง
=ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เคอร์เนล (Kernel) หมายถึง ส่วนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนแรกที่ถูกเรียกมาใช้งาน และจะฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำหลักของระบบ ดังนั้นเคอร์เนลจึงต้องมีขนาดเล็ก โดยเคอร์เนลจะมีหน้าที่ในการติดต่อ และควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมใช้งาน (Application Programs)
2.โปรแกรมระบบ (System Programs) คือ ส่วนของโปรแกรมการทำงานของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ และผู้จัดการระบบ เช่น Administrator

9.ในการจัดการกับโปรเซส ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=การจัดการงานที่เราจะทำการประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบการแบ่งเวลา หรืออื่นๆ โดยแต่ละโปรเซสจะมีการกำหนดการใช้ทรัพยากรที่แน่นอน

10.ในการจัดการกับหน่วยความจำ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=การจัดการหน่วยความจำจัดเป็นหน้าที่หนึ่งของระบบปฏิบัติการ หน่วยความจำนี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย  กล่าวคือถ้าหากคอมพิวเตอร์มีความจำมาก  นั้นหมายถึงขีดความสามารถในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นโปรแกรมที่มีสลับซับซ้อนและมีสมรรถนะสูง มักจะเป็นโปรแกรมที่ต้องการหน่วยความจำสูง แต่ก็เป็นที่ทราบแล้วว่าหน่วยความจำมีราคาแพง ดังนั้นระบบปฏิบัติการที่ดีจะต้องมีการจัดการหน่วยความจำที่มีอยู่จำกัด ให้สามารถรองรับงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำจำนวนมากได้

11.ในการจัดการกับแฟ้มข้อมูล ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=เป็นการทำงานของระบบปฏิบัติการโดยทำหน้าที่ในการโอนถ่ายข้อมูลลงไปจัดเก็บในอุปกรณ์บันทึกข้อมูล

12.ในการจัดการกับอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ในการรับข้อมูล และแสดงข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ต่างๆ โดยข้อมูลที่ส่งไปยังอุปกรณ์เหล่านี้ จะผ่านสายส่งข้อมูล

13.ในการจัดการกับหน่วยความจำสำรอง เช่น ดิสก์ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่โอนถ่ายข้อมูลไปจัดเก็บในอุปกรณ์บันทึกข้อมูล

14.จงสรุปงานบริการของระบบปฏิบัติการมาพอเข้าใจ
=ระบบปฏิบัติการจะเป็นเหมือนตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้งาน จะรับข้อมูลทางเมาส์หรือคีย์บอร์ด จากนั้นจะส่งไปยัง CPU เพื่อให้ประมวลผลออกมา แสดงผลจะอยู่ในรูปของเสียงหรือภาพ

15.ในการติดต่อระหว่างโปรเซสกับระบบปฏิบัติการ จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มงานใดบ้าง จงอธิบาย
=สถานะของโปรเซส (Process Status)ก็จะมี  สถานะเริ่มต้น (New Status) ,สถานะพร้อม (Ready Status) ,สถานะรัน (Running Status),สถานะรอ (Wait Status),สถานะบล็อก (Block Status)และสถานะสิ้นสุด (Terminate Status)

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเลือกใช้วินโดวส์XP ที่เหมาะสมในการทำงาน ลำดับและการติดตั้ง Driver ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ


การเลือกใช้วินโดวส์XP ที่เหมาะสมในการทำงาน

     วินโดวส์ล่าสุดอย่าง windows 7  กึ่ง Vista ใช้ทรัพยากรเครื่องมาก เครื่องเก่า เสป็คไม่ดีไม่ควรใช้

     จะวินโดวส์หรือว่าจะระบบอะไรก็มีข้อผิดพลาดเสมอ  แม้วินโดวส์แท้ๆก็ติดไวรัสได้เหมือนกัน ฉะนั้นก็อย่าคาดหวังมากนัก  เราต้อง back up ข้อมูลเป็นนิสัย รู้จักเลือกใช้สื่อบันทึก เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์  วินโดวส์จะเป็นอะไรก็ช่างมัน ลงใหม่ได้ครับ

Credit:Windowscare.in.thวิธีเลือกใช้วินโดวส์ให้โดนใจ

         วินโดวส์ xp ทั้งเวอร์ชั่นเดิมและเวอร์ชั่นปรับแต่ง รวมกันแล้วมีหลายสิบเวอร์ชั่น แต่ที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพจริงๆมีอยู่ไม่กี่เวอร์ชั่นครับ  ที่ได้รับการยอมรับที่สุดคือ เวอร์ชั่นดั้งเดิมจากไมโครซอฟต์ แต่เนื่องด้วยความต้องการที่มีอยู่อย่างหลากหลาย และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ถูกผลิตขึ้นมาใหม่แทบเดือนชนเดือนวินโดวส์ xp แบบดั้งเดิมตัวเดียวไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมด  และซับพอตอุปกรณ์ทุกตัว วินโดวส์ปรับแต่งจึงเป็นอีกทางเลือกนึงที่น่าสนใจและจริงๆแล้วก็โดนใจ ใครหลายคน ทั้งผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่มีทักษะมาก และผู้ที่ชอบปรับแต่งคอมพิวเตอร์

        การปรับแต่งนั้นคือการทำให้ตอบสนองความต้องการมากขึ้น เช่น เร็วขึ้น ซับพอตอุปกรณ์ใหม่ๆ มากขึ้น  มีพลักอินที่เสริมการทำงานโดยที่เราไม่ต้องไปหาดาวโหลด หรือตั้งค่าให้ปวดเศียรเวียนเกล้าทุกครั้ง ที่ติดตั้งวินโดวส์ใหม่ ทั้งๆที่เราต้องใช้งานอยู่แล้ว แต่การปรับแต่งวินโดวส์ หรือ integrade นั้นทำให้สูญเสียประสิทธิภาพ และความเสถียรลงไปด้วย วินโดวส์เวอร์ชั่นปรับแต่ง จึงมีข้อผิดพลาดและมักใช้ไม่ได้นาน ต้องติดตั้งใหม่ แต่หากคุณชอบเรื่องการปรับแต่ง ก็มักชอบความแปลกใหม่ด้วย วินโดวส์ปรับแต่งจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย  จนวินโดวส์แท้ เดิมๆนั้นแทบเลือนไปจากกระแส

     แต่ หากถามว่าวินโดวส์รุ่นใดดีที่สุด ตอบว่าวินโดวส์เวอร์ชั่นที่เหมาะกับการใช้งานของคุณมากที่สุดนั่นแหละครับ 
    ในบทความนี้ วินโดวส์แค่จะแนะนำวิธีเลือกซื้อ เลือกใช้งาน windows อย่างไรที่ท่านจะได้ประโยชน์ที่สุด ส่วนจะเป็นรุ่นไหนนั้น "คุณ" ต้องตอบเอง

เลือกใช้ windows เวอร์ชั่นไหนดี

       หากคุณชอบอะไรแปลกใหม่ชอบปรับแต่ง วินโดวส์ปรับแต่งสายพันธ์ใหม่ อย่าง Windows xp sp3 TrueFaster    เป็นเวอร์ชั่นที่น่าสนใจ

      หากคุณเป็นนักเซิฟ ใช้งานหลากหลาย เสาะแสวงหาโปรแกรมใหม่ๆมาทดลองใช้ คุณลักษณะพร้อมใช้งานของ window dark edition  V.7  ตอบโจทย์ได้ดี เนื่องจากมาพร้อมสรรพ ทั้งไดรเวอร์ ทั้งโปรแกรมและ features ใหม่ๆ  แบบ vista

      หากชอบความสมบูรณ์แบบ feature ใหม่หน้าตาเฉิดฉาย และเปี่ยมประสิทธิภาพ windows xp vortex vista นับว่ายอดนิยมในปี 2008 เนื่องจาก มีความสมบูรณ์มากแม้จะมีการปรับแต่ง นับว่าเป็นงานศัลยกรรมชิ้นเอก

      พอได้มาตราฐาน เวอร์ชั่นกลางๆ  Windows xp vienna   หรือ Windows xp 2006 v.9 ยังคงมีคนใช้งานอยู่ต่อเนื่องมีความเสถียร และทำงานว่องไว

      หากคุณไม่ค่อยใช้งาน เช่นคอมพิวเตอร์ที่มักจะรันโปรแกรมทิ้งไว้ คอมพิวเตอร์ใน lab สอนเด็กนักเรียน หรือเป็นแบบออฟไลน์     ไม่ได้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเลย วินโดวส์เวอร์ชั่นเดิมเหมาะสมดี

      หากต้องการความถูกต้องมากๆ และรับประกันคุณภาพ แบบ professional  แนะนำให้แบบดั้งเดิม และเป็นของแท้ เพราะคุณจะได้  การ บริการพ่วงไปด้วย

      หากคุณมีลูกหลาน และคิดว่าการซื้อคอมพิวเตอร์ให้เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตทีดี  แต่ราคาแพงเกินกว่าจะจ่ายได้   แนะนำวินโดวส์ mini ปรับแต่งอีกตัวที่เบามากๆ คอมพิวเตอร์เสป็คไม่แรง จะมือสองหรือของเก่าเก็บก็ใช้ได้


**ในส่วนตัวผมเองนอกจากปฏิบัติงานสอนแล้วแล้ว  ก็ประกอบคอมพิวเตอร์และแก้ไขคอมพิวเตอร์เป้นงานอดิเรก ลองและคัดสรรค์  เลือกใช้วินโดว์ XP ขณะนี้ 3 โปรแกรม...นั่นคือ
          -  WXPVOL_EN.iso              สวยติดตั้งนาน  บางครั้งมีปัญหาจอฟ้าครับ
-       window dark edition  V.7 [ใช้อยู่ ณ ขณะนี้]เลือกรูปแบบการติดตั้งหลายอย่างบางส่วนต้องไปแก้ขที่Font ให้เป็น tahoma ทั้งหมดครับ
-       MiniV2+.iso                    สำหรับเครื่องที่เสป็คต่ำครับ  ไม่ค่อยมีปัญหา


ลำดับและการติดตั้ง Driver ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ
การติดตั้ง Driver ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งหากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นแบบรุ่นเก่า ๆ อาจจะไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะว่า Windows จะจัดการกับ Driver ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยแล้ว หรือที่เรียกกันว่า Plug and Play นั่นแหละ แต่ถ้าหากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานเป็นรุ่นใหม่ ก็ต้องมาทำการติดตั้ง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ เองเพื่อให้สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้สมบูรณ์


          การติดตั้ง Driver จะเริ่มจากไดร์เวอร์สำหรับเมนบอร์ดก่อน(ถ้ามี)  เนื่องจากเป็นตัวกลางหลักที่เชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆอีกที  จึงต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อน  ไดร์เวอร์สำหรับเมนบอร์ดนี้หมายรวมถึงไดร์เวอร์สำหรับอุปกรณ์พิเศษอื่นๆที่อยู่บนเมนบอร์ดด้วย  จากนั้นบู๊ตเครื่อง 1 ครั้งเพื่อให้ไดร์เวอร์ถูกโหลดและทำงานเสียก่อนค่อยติดตั้งไดร์เวอร์อื่นๆต่อไป
                        ลำดับถัดมาที่ควรติดตั้งคือ  ไดร์เวอร์การ์ดแสดงผล  ซึ่งเป็นไดร์เวอร์ที่จำเป็นรองจากเมนบอร์ด  หลังจากติดตั้งเสร็จ บู๊ตเครื่องและปรับค่าต่างๆของหน้าจอให้เรียบร้อย  แล้วจึงค่อยติดตั้งไดร์เวอร์อื่นต่อไป  โดนจะติดตั้งตัวไหนก่อนหลังอย่างไรก็ไม่มีปัญหา

          วิธีติดตั้งไดร์เวอร์
          สำหรับการติดตั้ง Driverสำหรับอุปกรณ์ต่างๆนั้น  อาจแบ่งวิธีติดตั้งได้ 3 วิธีแตกต่างกันในเรื่องขั้นตอนและโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง คือ
1.     ให้ windows ตรวจสอบและค้นหาให้เองอัตโนมัติ
2.    ใช้โปรแกรมติดตั้งสำเร็จรูปที่ให้มาพร้อมกับอุปกรณ์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นแผ่นซีดีหรือดีวีดี
3.    เรียกใช้ Add New Hardware Wizardช่วยในการติดตั้งไดร์เวอร์ให้กับอุปกรณ์


วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คุณสมบัติความจำในโครงสร้างคอมพิวเตอร์


Cache คืออะไร
     Cache คือหน่วยความจำอย่างนึง มีความเร็วในการเข้าถึงและการถ่ายโอนข้อมูลที่สูง ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลที่เราต้องการจะใช้งานบ่อยๆ เพื่อเวลาที่ CPU ต้องการใช้ข้อมูลนั้นๆ จะได้ค้นหาได้เร็ว โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องไปค้นหาจากข้อมูลทั้งหมด
ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
Cache มี 2 แบบคือ
1.disk cache คือการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลักของเราก่อน เมื่อ CPU ต้องการจะหาข้อมูล ก็จะหาใน dish cache ก่อนแล้วค่อยเข้าไปค้นหาใน Harddisk
2.Memory cache จะดึงข้อมูลมาเก็บไว้ใน memory ซึ่งจะถึงขอ้มูลได้รวดเร็วกว่า แต่มีความจำที่เล็กกว่า 
     เพราะฉะนั้นถ้า คอมพิวเตอร์เครื่องใดที่มี cache ความเร็วสูงก็จะเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามยิ่งขนาดใหญ่ก็เก็บข้อมูลได้เยอะ แต่การเข้าถึงจะช้ากว่า cache ที่มีขนาดเล็ก   ระบบ Cache นอกจาก ใน computer แล้ว ระบบ Cache ยังเอามาใช้งานบนเว็บ ด้วย CMSส่วนใหญ่จะมีระบบ Cache เพื่อลดภาระการทำงานของฐานข้อมูลลง
น่วยคจำแบ
หน่วยความจำแบบไดนามิกแรม   
      เป็นแรมที่มีโครงสร้างแตกต่างจากสแตติกแรม ทำให้สามารถมีความจุสูงกว่าสแตติกแรม 4 เท่า ทำให้กินกำลังไฟฟ้าในการทำงานน้อยกว่าสแตติกแรมอยู่ในเกณฑ์ 1/4 ถึง 1/6 เท่าของสแตติกแรม ซึ่งเมื่อเทียบราคาต่อบิตแล้วราคาจะสูง สแตติกแรมจึงถูกนำมาใช้ในหน่วยความจำขนาดเล็ก เช่น ระบบไมโครโปรเซสเซอร์ เป็นต้น การควบคุมกระบวนการทำงานของไดนามิกแรม ต้องมีวงจรรีเฟรชหน่วยความจำ
        โครงสร้างทั่วไปของไดนามิกแรมแสดงในรูปที่ 12.13 เป็นไดนามิกแรมขนาด 16k x 1 (16,384 Cell = 2   ) มีขนาดอาร์เรย์ของเซลล์เป็นแมทริกซ์ขนาด 128 x 128 อาร์เรย์ แต่ละเซลล์จะบอกตำแหน่งของแอดเดรสโดยตัวถอดรหัสแถว และตัวถอดรหัสคอลัมน์ขนาด 1 - to - 128 ดังนั้นแอดเดรสอินพุตของตัวถอดรหัสแถวจะมีขนาด 7 เส้น (A   - A  ) และ ตัวถอดรหัสคอลัมน์จะมีแอดเดรส 7 เส้นเช่นกัน (A    - A  ) รวมทั้งสิ้นมีแอดเดรสขนาด 14 บิต


หน่วยความจำแบบสแตติกแรม
หน่วยความจำแบบสแตติกแรม

        เป็นแรมที่มีฟลิบฟลอบเป็นตัวเก็บข้อมูลภายในแต่ละบิต ดังนั้นข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในสแตติกแรมจะไม่สญหายไปจนกระทั่งสแตติกแรมไม่ได้รับแรงดันไบอัสฟลิปฟลอปภายในสแตติกแรมมี 2 แบบ คือ แบบที่ใช้ไบโพล่าร์ทรานซิสเตอร์ และแบบที่ใช้มอสทรานซิสเตอร์ ซึ่งชนิดที่เป็นมอสทรานซิสเตอร์จะกินกำลังไฟฟ้าน้อยกว่าชนิดไบโพล่าร์ทรานซิสเตอร์

การทำงานของสแตติกแรม
        สแตติกแรมส่วนมากใช้ต่อภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ และต่อใช้งานโดยการควบคุมของซีพียู ในการอ่านหรือเขียนข้อมูลภายในสแตติกแรมจะใช้ความเร็วสูงมากซึ่งเท่ากับความเร็วซีพียู ดังนั้นการนำสแตติกแรมและชิปที่ใช้ควบคุมไปใช้ร่วมกับซีพียูใดๆ จะต้องศึกษาคู่มือของแรมให้ละเอียด เวลาการทำงานของสแตติกแรมแบ่งเป็นรอบการอ่านข้อมูลและรอบการเขียนข้อมูล