วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมภาษา

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล
          โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล
โปรแกรมในภาษาปาสคาล แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

1. ส่วนหัว (Heading) เป็นการประกาศชื่อของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วยคำว่า PROGRAM ตามด้วยชื่อของโปรแกรม และจบบรรทัดด้วย ;
2. ส่วนข้อกำหนด (Declaration part) คือส่วนตั้งแต่ส่วนหัวไปจนถึงคำว่า BEGIN ของโปรแกรมหลัก และเป็นส่วนที่เรากำหนดค่าต่าง ๆ

3. ส่วนคำสั่งต่าง ๆ (Statement Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้ายด้วย “END.”
โครงสร้างของภาษา C
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซีแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. ส่วนหัวของโปรแกรม
ส่วนหัวของโปรแกรมนี้เรียกว่า Preprocessing Directive ใช้ระบุเพื่อบอกให้คอมไพเลอร์กระทำการ ใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรม ในที่นี่คำสั่ง #include <stdio.h> ใช้บอกกับคอมไพเลอร์ให้นำเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ คือ stdio.h เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย โดยการกำหนด preprocessing directives นี้จะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ
คำสั่งที่ใช้ระบุให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์เข้าร่วมในการแปลโปรแกรม สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
- #include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจากไดเรกทอรีที่ใช้สำหรับเก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ (ปกติคือไดเรกทอรีชื่อ include)
- #include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟที่ระบุ จากไดเร็คทอรีเดียวกันกับไฟล์ source code นั้น แต้ถ้าไม่พบก็จะไปค้นหาไดเร็คทอรีที่ใช้เก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ
2. ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก
ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชั่น main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชั่นนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ จะเห็นได้จากชื่อฟังก์ชั่นคือ main แปลว่า หลักดังนั้น การเขียนโปรแกรมภาษซีจึงขาดฟังก์ชั่นนี้ไปไม่ได้ โดยขอบเขตของฟังก์ชั่นจะถูกกำหนดด้วยเครื่องหมาย { และ } กล่าวคือ การทำงานของฟังก์ชั่นจะเริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } ฟังก์ชั่น main() สามารถเขียนในรูปแบบของ void main(void) ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน คือ หมายความว่า ฟังก์ชั่น main() จะไม่มีอาร์กิวเมนต์ (argument) คือไม่มีการรับค่าใด ๆ เข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชั่น และจะไม่มีการคืนค่าใด ๆ กลับออกไปจากฟังก์ชั่นด้วย
3. ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม


                      โดรงสร้างโปรแกรม Basic
ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักคือ
1.       ลาเบล (Label) ใช้ในการอ้างถึงบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งของโปรแกรมที่ทำการเขียนขึ้น2.       รหัสนีโมนิก (Mnemonic) เป็นส่วนแสดงคำสั่งของไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ต้องการให้กระทำ
3.       โอเปอร์แรนด์ (Operand) เป็นส่วนที่แสดงถึงตัวกระทำหรือถูกกระทำและข้อมูลที่ใช้ในการกระทำตามคำสั่งที่กำหนดโดยรหัสนีโมนิกก่อนหน้านี้
4.       คอมเมนต์ (Comment) เป็นส่วนที่ผู้เขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเพื่อใช้ในการอธิบายคำสั่งที่กระทำ หรือผลของการกระทำคำสั่งในบรรทัดหรือโปรแกรมย่อยนั้นๆ 

โครงสร้าง ภาษา Java (Java Structure)
1. เครื่องหมาย ในการควบคุม Structure
1.1 Comment คือข้อความที่แทรกเข้าไปในโปรแกรม แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม เช่นในกรณีที่เราต้องการอธิบาย Source code ไว้ใน โปรแกรม วิธีการคือ
- comment ทีละ บรรทัด ใช้เครื่องหมาย // ตามด้วยข้อความที่ต้องการ comment เช่น
//comment comment
- comment แบบครอบทั้งข้อความ ใช้เครื่องหมาย /* ข้อความที่ต้องการ comment */ เช่น
/*
Comment
Comment
*/
1.2 Keyword คือคำที่ถูกกำหนดไว้ใช้เองแล้วในภาษา Java ไม่สามารถนำมาใช้ในการตั้งชื่อภายใน โปรแกรมได้ ตัวอย่างเช่น class,boolean,char เป็นต้น

1.3 Identifiers คือชื่อที่ผู้เขียนตั้งขึ้นมา เพื่อใช้แทนอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็น method ,ตัวแปร หรือ class ชื่อที่ถูกต้องควรประกอบด้วย ตัวอักษร ,ตัวเลข ,_,$ และจะต้องขึ้นต้นด้วย ตัวอักษรเท่านั้น

1.4 Separators คือ อักษร หรือ เครื่องหมายที่ใช้แบ่งแยกคำในภาษา มีดังต่อไปนี้
- เครื่องหมาย () ใช้สำหรับ
1. ต่อท้ายชื่อ method ไว้ให้ใส่ parameter
เช่น private void hello( );
2. ระบุเงื่อนไขของ if ,while,for ,do
เช่น if ( i=0 )
3. ระบุชื่อชนิดข้อมูลในการ ทำ casting
เช่น String a=( String )x;
- เครื่องหมาย{ }ใช้สำหรับ

กำหนดขอบเขตของ method แล class
เช่น class A{
}
Private void hello(){
} 
2. กำหนดค่าเริ่มต้นให้ กับตัวแปร Array
เช่น String a[]={"A","B","C"};

- เครื่องหมาย [ ] ใช้สำหรับ
1. กำหนดตัวแปรแบบ Array
เช่น String a[ ];
2. กำหนดค่า index ของตัวแปร array
เช่น a[ 0 ]=10;
- เครื่องหมาย ; ใช้เพื่อปิดประโยค
เช่น String a ;
- เครื่องหมาย , ใช้สำหรับ
1. แยกชื่อตัวแปรในประโยค
เช่น String a , b , c;
- เครื่อง หมาย . ใช้สำหรับ
1. แยกชื่อ package,subpackage และชื่อ class
เช่น package com.test.Test1;
2. ใช้เพื่อเรียกใช้ ตัวแปร หรือ method ของ Object
เช่น object.hello();

ภาษา COBOL คืออะไร
ภาษาโคบอล (COBOL : Common Business Oriented Language) คือภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในงานธุรกิจภาษาแรกของโลก พัฒนาในปีค.ศ. 1962 โดยคณะกรรมการโคดาซิล (The Conference on Data Systems Languages - CODASYL) มีจุดเด่นคือ สามารถใช้งานแฟ้มข้อมูลได้หลายแบบ กำหนดโครงสร้างข้อมูลได้สะดวก มีลักษณะการเขียนโปรแกรม แบบเอกสารอธิบายโปรแกรม ช่วยให้นักพัฒนารุ่นถัดไปเข้าใจได้ง่าย
การเขียนโปรแกรมภาษา COBOL เป็นภาษาที่ง่ายมากภาษาหนึ่ง เพราะไม่มีลูกเล่นให้ใช้มาก ๆ เหมือนพวก VB, C, Pascal หรือ dBase หน้าที่หลักของ COBOL คืออ่านข้อมูลจากแฟ้มมาประมวลผลทางธุรกิจเป็นหลัก สำหรับ ผู้เรียนมือใหม่ อาจบอกว่าภาษานี้ยาก เพราะพวกเขาอาจไปยึดติดกับการจดจำ division ต่าง ๆ ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงหน้ากาก มิใช่ concept ของภาษา ถ้ามีคู่มือสักเล่ม ก็จะเข้าใจ และแกะหน้ากากเหล่านั้นออกได้ แล้วก้าวให้ลึกเข้าไปสู่ตัวภาษาได้โดยง่าย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น